วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ประเด็น"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ"


สิทธิตามรัฐธรรมนูญของผุ้สูงอายุในการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เขียนโดย นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ห้องสังคมศึกษา 50 เลขที่ 29
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาท เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เมษายน 2552 เรื่อยมา และโครงการนี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งเป็นนโยบายที่เน้นให้เงินไหลลงสู่เงินประชาชนมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในการซื้อ ส่งผลให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดำเนินการภายใต้หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเกี่ยวข้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในมาตราต่อไปนี้คือ
ส่วนที่ 5 สิทธิในการรับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่รัฐ
ส่วนที่ 4 นโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมดังต่อไปนี้
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กแบะเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การสึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชายและเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผุ้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพพลภาพและผุ้อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
เห็นได้ว่า นโยบายดังกล่าวมุ่งเสริมสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวนั้น ข้าพเจ้ามองว่า ไม่สามารถที่จะสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนถาวร แก่ผู้สูงอายุได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
จุดแข็งของโครงการ
1. เป้นการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการส่งจ่ายเงินให้อยู่ในมือประชาชน ให้มีการจับจ่ายใช้สอยกันทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่มีงานทำไม่มีรายได้
จุดอ่อนของโครงการ
1. เงินงบประมาณไม่ได้ลงสู่ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ
โดยหลักการของโครงการแล้ว มุ่งให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีลำบากยากจน แต่ด้วยที่รัฐบาลไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผุ้สุงอายุที่จะได้รับช่วยเหลือไว้ ทำให้ผุ้สูงอายุทุกคนมีสิทธิได้รับเบี้ยดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีฐานะดีไม่ลำบากขัดสนด้วย ทำให้การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการสมควรให้การช่วย
2. ปัญหาในกระบวนการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ยังมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในกระบวนการจัดการ เช่น จำนวนเงินและระยะเวลาในการโอนเงินไม่แน่นอน การถูกหักเงินเบี้ยยังชีพให้เป็นค่าพาหนะหรือค่าตอบแทนแก่ผู้นำหรือกรรมการที่ไปรับเงินมาให้ การขาดความรู้ความเข้าใจในการเปิดบัญชี ธนาคารในชื่อตนเอง จนส่งผลให้ไม่มีโอกาสตรวจสอบยอดเงินของตนเอง และไม่สามารถคุ้มครองสิทธิตนเองได้ การขาดการติดตามผล ขาดการตรวจสอบถึงความเป็นธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน และการขาดระบบสนับสนุนด้านระบบข้อมูลข่าวสาร
3 ความสามารถในการกระจายบริการและการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ เน้น การขยายปริมาณผู้รับเบี้ยยังชีพ มากกว่าคำนึงถึง ผลในเชิงคุณภาพ นอกจากนี้จำนวนปริมาณที่ขยายยังเข้าไม่ถึงผู้สูงอายุยากจนที่ยากลำบากอย่างแท้จริง
4 ความพึงพอใจ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยทุกคนมีความพอใจ แม้เงินที่ได้รับจะน้อยมากจนไม่เพียงพอต่อการยังชีพที่แท้จริงได้ สำหรับผู้สูงอายุยากจนแท้จริงที่ได้รับเบี้ย รู้สึกว่าตนมีหลักประกันมากขึ้น มีเครดิตทางสังคม มีศักดิ์ศรีในตนเองมากขึ้น เงินจำนวนดังกล่าวยังสามารถตอบสนองในเรื่องค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมของตน เช่น การเล่นการพนัน การทำบุญตักบาตร ทำกิจกรรมทางศาสนา
5.การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ขาดกระบวนการแสวงหาและระดมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกือบทุกระดับ รวมถึงขาดการเสริมสร้างจิตสำนึกสวัสดิการในหมู่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้จิตใจเพื่อการมีส่วนร่วมในชุมชนไม่มีพลัง
6. การพึ่งตนเองและความยั่งยืนของโครงการ รูปแบบบริการ ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะเป็นการให้เชิงสงเคราะห์ โดยไม่มีกระบวนการเสริมพลัง หรือรูปแบบประสานความร่วมมืออื่น ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองที่ควรจะเป็น ลักษณะบริการ มุ่งเน้นการสงเคราะห์เฉพาะราย เสริมลักษณะปัจเจกมากกว่าการเสริมความเป็นกลุ่มหรือชุมชน
ปัญหาและอุปสรรค์
ผู้สูงอายุที่ลำบากมากจริง ๆ อาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในส่วนนี้ เช่นผู้สูงอายุชราภาพมากร่างกายอ่อนแอ หรือผู้สูงอายุที่อยู่ห่างไกล มีความลำบากด้านการคมนาคม ผุ้สูงอายุเหล่านี้อาจไม่ได้รับทราบข่าวสารจากทางการหรือมีความลำบากในการมารับเบี้ยยังชีพ ฯ ปัญหาในส่วนนี้ทำให้ภาครัฐไม่สามารถให้การช่วยเหลือราษฏรได้อย่างทั่วถึง
แนวทางการแก้ไข
จัดสรรบุคลากรสำหรับการดำเนินการส่วนนี้เป้นการพิเศษ เช่น ให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่นำเงินช่วยเหลือไปมอบให้ผู้สูงอายุที่ลำบากมากตามสมควรแก่กรณีจนถึงที่พักอาศัยโดยไม่ต้องให้มารับที่หน่วยงานหรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร
ข้อเสนอแนะ
นโยบายดังกล่าวเป้นนโยบายที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุดีแล้ว แต่การให้การช่วยเหลือนั้นควรให้การช่วยเหลือเชิงสงเคราะห์ให้น้อยลง หันมาให้การช่วยเหลือเชิงตอบแทน คือ รัฐควรสร้างนโยบายจัดหางานทำให้แก่กผู้สูงอายุ แล้วมีค่าตอบแทนให้ ทั้งนี้จะเป็นการสร้างคุณค่าในตัวเองแก่ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง รวมถึงเป้นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และตรงกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
เขียนโดย นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ห้องสังคมศึกษา 50 เลขที่ 29

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ
    บทความที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการพนันออนไลน์กีฬา  การพนันออนไลน์  และการแลกเปลี่ยนทางสังคมการพนันที่คุณสามารถวางเดิมพันในกีฬาที่สำคัญทั้งหมดรวมถึงฟุตบอลบาสเก็ต, คริกเก็ต, สนุ๊กเกอร์และการพนันออนไลน์คาสิโน ผมชอบกระทู้นี้ วางเดิมพันในกีฬาที่สำคัญทั้งหมด
    ขอบคุณ

    ตอบลบ