วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

สรุปการจัดงาน “วันรัฐธรรมนูญ” วันที่ 9 ธันวาคม 2552

การจัดงานวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 9 ธันวาคม 2552 ณ อาคาร 9 และชั้น 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ภายในงานการเปิดพิธี มีการร่วมเคารพธงชาติเวลา 8.00 น. บริเวณวงเวียนภิรมรัตน์ และมีการเปิดงานการแสดงด้วยการเพลงชาติ และ เพลงเทิดไท้องราชันย์ของเด็กอนุบาลโรงเรียนสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมีการจัดกิจกรรมของนักศึกษาโปรแกรมวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบนเวที และการจัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ไทยอีกมากมาย นอกจากนี้ กระผมในฐานะที่เรียนวิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกี่ยวกับการการเมืองการปกครอง และเหตุการณ์สำคัญต่างๆทางประวัติศาสตร์ไทย เป็นการศึกษาโดยตรง ก็เข้าร่วมในงานด้วย ซึ่งกระผมได้มีส่วนร่วมในการจัดงาน คือ การจัดบอร์ด จัด โมเดล มาบตาพุด เพื่อให้ความรู้และได้ศึกษา เกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลที่มีผลกระทบและประชาชนต้องการให้ยกเลิกมาตรการนี้ เพราะคาดว่านโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมากทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและ ได้รับผลเสีย จึงมีการต่อต้านและคัดค้านโดยประชาชน และนอกจากนี้ กระผมก็ได้ร่วมทำกิจกรรมบนเวที คือ ร่วมกันกล่าวบทกลอนของเหตุการณ์ สำคัญ วันมหาวิปโยค กับเพื่อนๆอีกด้วย และกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ทางอาจารย์ได้จัดคือ กิจกรรม การให้ความรู้โดย ก.ก.ต.
การมีส่วนร่วมและการช่วยเหลือ ของกระผม ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คือ กระผมและ เพื่อนๆได้ช่วยกันจัดบอร์ดให้ความรู้ และ การจัดโมเดลมาบตาพุด ซึ่งเราได้มีการนัดหมายช่วยกันทำในวันหยุด ซึ่งในการจัดทำโมเดลนี้ กระผมก็มีส่วนร่วม โดยการซื้อและจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ และช่วย กันประดิษฐ์จัดทำกับเพื่อนจนงานเสร็จสิ้น และมาตามนัดหมายทุกครั้งเมื่อมีการนัดหมายมาทำกัน ในการจัดทำกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนในครั้งนี้ กระผมก็ได้ช่วยเหลือและทำเต็มความสามารถเท่าที่จะทำได้ให้ผลงานออกมาดีที่สุด และที่ผลงานออกมาดีที่สุดและเสร็จสิ้นได้ในครั้งนี้เพราะทุกคนช่วยกันและพร้อม ที่จะสละเวลาส่วนตัวมาช่วยกันทำ

นายทวีรักษ์ กองข้าวเรียบ ห้อง ส.50 เลขที่ 13

รัฐบาลมีนโยบายให้เรียนฟรี 15 ปี

ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้หรือผู้พิการ หรือ ทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคลอื่น

การจัดการศึกษาขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรมการเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ทั้งที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
วิเคราะห์ กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายให้เรียนฟรี 15 ปี เห็นด้วยกับนโยบายนี้ อย่างยิ่ง เพราะ เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้นำมาเพิ่มเติม จากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ที่เรียนฟรี 12 ปี จะเห็นได้ว่า เป็นการเปิดโอกาส และ ส่งเสริมให้ทุกคนได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการก็ตาม ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการรับการศึกษา เป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งในประเทศไทยยังมีประชาชนอีกมากมาย ที่พวกเขาขาดโอกาส ยังไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากสภาพทางครอบครัวยากจน บางคนก็ไม่ได้อยู่กับครอบครัว หรือครอบครัวแตกแยก ทำให้ต้องหาเงินเลี้ยงชีพด้วยตนเอง บางคนก็ติดยาเสพติด ครอบครัวสังคมไม่เหลียวแล หรืออาจจะเป็นขอทาน ซึ่ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมากมายกับสังคมไทย และเป็นที่รังเกียจของคนอื่น หรืออาจจะได้รับการศึกษาที่ต่ำ ไม่ได้รับโอกาสในการทำงานที่สูง และดี
นโยบายนี้จึงเป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อประชาชนอย่างแท้จริง อย่างน้อยก็เป็นการช่วยเหลือให้คนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งการเปิดโอกาสทางการศึกษาถือว่าเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะการส่งเสริมทางการศึกษานอกจากจะช่วยให้ประชาชนได้รับการศึกแล้ว ยังทำให้ประชาชนมีงานทำที่ดีและเป็นการยกระดับประเทศให้สูงขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลจากการเก็บภาษีที่มาจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังให้คุณประโยชน์กับประเทศชาติ และ ทัดเทียมกับหลายๆประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่สูง
จึงเห็นด้วยและน่าส่งเสริมอย่างยิ่งที่รัฐบาลได้เพิ่มนโยบายทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษา ฟรีถึง 15 ปี เป็นการเพิ่มโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน รวมถึงประเทศชาติซึ่งถือว่าเป็นนโยบายที่ช่วยแก้ไขได้ระยะยาว เพราะ การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มพูนความรู้ ให้กับตนเอง การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น



นายทวีรักษ์ กองข้าวเรียบ ห้อง ส.50 เลขที่ 13

5. การที่มีการชุมนุมบุคคลในกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง เป็นการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับมาตรา

5. การที่มีการชุมนุมบุคคลในกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง เป็นการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับมาตรา
มาตรา 9 โดยมีสาระสำคัญเป็นการนิรโทษกรรมทั้งทางแพ่ง อาญา ให้กับประชาชนชุมนุมทางการเมืองสองช่วงเวลา คือ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่ประชาธิไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อให้เกิดสามัคคี เพราะตอนความแตกแยกทางการเมืองยังมีอยู่ และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นจนประเทศอาจเกิดควาเสียหาย จึงต้องให้โอกาสคนเหล่านี้
รัฐธรรมนูญมาตรา 28 วรรคแรก ได้วางหลักในการอ้างสิทธิว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคมที่ประชาชนตกลงว่าให้เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐเพื่อให้สังคมสงบสุข มีระเบียบแบบแผนในการปกครองประเทศ ตลอดจนคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐ การอ้างสิทธิเสรีภาพใดๆที่ได้รับการรับรองไว้จึงต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนั้นเอง หากการอ้างสิทธิ์นั้นเป็นปฏิปักษ์กับรัฐธรรมนูญก็เท่ากับว่าเป็นการขัดแย้งกับเจตจำนงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ประการที่สองการชุมนุมจะต้องเป็นการใช้เสรีภาพตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดเสรีภาพในการชุมนุมไว้ในมาตรา 63 “มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือ ในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก” จะสังเกตได้ว่าขอบเขตของเสรีภาพตามมาตรานี้คือ “โดยสงบและปราศจากอาวุธ” การที่รัฐธรรมนูญกำหนดขอบเขตไว้ก็เนื่องจากหากปล่อยให้มีการใช้เสรีภาพอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างไม่มีขอบเขต การใช้เสรีภาพนั้นอาจก้าวล่วงไปกระทบต่อเสรีภาพอย่างอื่นได้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 63 จึงได้กำหนดขอบเขตไว้สองประการข้างต้น คำว่า “โดยสงบ” หมายความว่า จะต้องดำรงความสงบของประชาชนทั่วไปและไม่ไปรบกวนสิทธิของผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ประการนี้รวบไปถึงเรื่องเจตนาของผู้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยว่าประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นหรือไม่ ตัวอย่างเช่น มีการปรารัยให้เกิดความเครียดแค้น ปลุกระดมปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรุนแรง เช่นนี้เป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้น ส่วนคำว่า “ปราศจากอาวุธ” หมายความรวมถึงสิ่งที่ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพด้วย แต่กรณีนี้จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ที่จะใช้สิ่งของนั้นๆด้วยว่ามีเจตนานำมาใช้ประทุษร้ายเยี่ยงอาวุธหรือไม่(3) ตัวอย่างเช่น ด้ามธง ป้ายประท้วง มือตบ ตีนตบ นั้นตามปรกติไม่เป็นอาวุธโดยสภาพย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่หากนำมาทุบตีกันก็จะถือว่าเป็นอาวุธ เป็นต้น ส่วนไม้กอล์ฟ ด้ามธงที่มีเหล็กปลายแหลม หน้าไม้ หนังสติกส์ ไม้คมแฝก ปืนไทยประดิษฐ์ มีดดาบ สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นอาวุธโดยสภาพทั้งสิ้น หากมีไว้ใช้ในการชุมนุมใดๆ แม้ว่าจะอ้างว่ามีไว้เพื่อป้องกันตัว ก็เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ประการที่สามการชุมนุมจะต้องคำนึงถึงหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยสิทธิเสรีภาพต่างๆจะได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉันใดในทางกลับกันประชาชนก็จะมี“หน้าที่” ต่อรัฐฉันนั้น เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ของพลเมืองไว้ในหมวด 4 เพียง 5 มาตรา (มาตรา 70-74) และหากพิจารณาหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญกับเสรีภาพในการชุมนุมแล้วจะพบมาตราที่เกี่ยวข้องโดยตรงอยู่ 2 มาตรา คือ มาตรา 71 และ มาตรา 74 “มาตรา 71 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรา 74 บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งละเลยหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือผู้บังคับบัญชาของบุคคลดังกล่าว ชี้แจง แสดงเหตุผล และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้” หน้าที่ตามสองมาตราข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้ชุมนุมจะต้องเคารพกฎหมายและหากผู้ชุมนุมเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเจ้าหน้าที่นั้นต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ดังนั้นเมื่อใดที่ผู้ชุมนุมจะอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเมื่อนั้นผู้ชุมนุมก็ควรคำนึงถึงหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญไปพร้อมๆ กัน แม้ว่าขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 กระนั้นผู้ชุมนุมจะต้องเคารพกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น 1. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 2. ประมวลกฎหมายอาญา 3. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 4. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 กรณีการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเช่นประเทศไทยสามารถเทียบเคียงได้จากการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก ทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยต่างก็ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการชุมนุมหรือเดินขบวนไว้ แต่ในทางปฏิบัติก่อนที่จะมีการชุมนุมหรือเดินขบวนในประเทศสหรัฐอเมริการ ผู้จัดการชุมนุมหรือเดินขบวนก็จะบอกกล่าวแก่สถานีตำรวจท้องที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัยแก่การชุมนุม(4) หากการชุมนุมหรือเดินขบวนนำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยหรือความวุ่นวายในบ้านเมือง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดความผิดอาญาฐานก่อการจลาจลไว้เพื่อเป็นการลงโทษ และหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็ยังสามารถดำเนินคดีในทางแพ่งได้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยแม้ว่าจะไม่มีความผิดอาญาฐานก่อการจลาจลแต่เจ้าหน้าที่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่แล้วมาบังคับกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้ อนึ่งหากพิจารณาจากหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชุมนุมของประเทศอื่นๆ เช่น Public Order Act, 1986 ของอังกฤษ décrét loi 23-10-1935 ของฝรั่งเศส Public Assembly Act, 1985 ของฟิลิปปินส์ Peaceful Assembly Act, 1992 ของรัฐ Queensland ประเทศออสเตรเลีย Public Assembly Act, 1997 ของเอสโทเนีย จะพบว่ามีหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะดังนี้(5) -ประชาชนมีสิทธิจัดให้มีและเข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ -ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ -ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย -ผู้จัดให้มีการชุมนุมต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ (ตำรวจหรือท้องถิ่น) ทราบล่วงหน้าก่อน 3-7 วัน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและดำเนินการอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไป -ผู้ชุมนุมต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น -เจ้าหน้าที่สามารถกำหนดเงื่อนไขในการชุมนุมได้หากเชื่อได้ว่าการชุมนุมนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความไม่สงบเรียบร้อย -เจ้าหน้าที่มีอำนาจห้ามหรือจำกัดการชุมนุมที่เป็นการบุกรุกทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิทยาศาสตร์และสถาปัตยกรรม จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่เพียงแต่จะยกรัฐธรรมนูญขึ้นอ้างเท่านั้น การใช้สิทธิดังกล่าวจำต้องคำนึงถึงบริบทแวดล้อมอื่นๆอีกด้วย หากวิธีการที่ผู้ชุมนุมใช้ไม่ถูกต้องตามครรลองประชาธิปไตยน้ำหนักของข้อเรียกร้องตลอดจนความชอบธรรมในการชุมนุมก็จะน้อยลงไป จะสังเกตได้ว่าที่ผ่านมามีการใช้สิทธิในการชุมนุมกันอย่างมากแต่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงหน้าที่ซึ่งเป็นส่วนเกี่ยวเนื่องกัน การใช้สิทธิเกินส่วนนี้กลับกลายเป็นกระบวนการทำลายประชาธิปไตย ซ้ำยังเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ยังแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและเศรษฐกิจของประเทศ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะร่วมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคมไทยมิใช่เพียงแต่ใส่เสื้อประชาธิปไตยแต่หัวใจเป็นอื่น ฉะนั้นก่อนที่จะชี้นิ้วกล่าวหาคนอื่นว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ควรจะสำรวจตนเองก่อนว่ากริยาที่ปฏิบัติอยู่นั้นเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มิเช่นนั้นก็คงเข้าทำนองสำนวนไทยที่ว่า “มือถือสาก ปากถือศีล”



ชื่อนูสีลา เจ๊ะโด เลขที่ 15 ห้อง ส.50

งานชิ้นที่ 2 บันทึกงานวันรัฐธรรมนูญ

การร่วมกิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 10 ธ้นวาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นั้น แม้สภาพโดยรวมของงาน จะถูกจัดขึ้นอยู่อย่างเรียบง่าย แต่ก็ให้สาระความรู้ได้เป็นอย่างดี นิทรรศการที่จัดขึ้นโดยผลงานของนักศึกษาโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา สามารถสื่อเนื้อหาได้เป็นอย่างดี เป็นที่สนใจแก่ผู้เข้าชม นิทรรศการส่วนใหญ่สร้างเป็นโมเดลสามมิติทำให้เป้นที่สนใจแก่ผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการเรื่องรัฐปัตตานี เขาพระวิหาร รวมทั้งปัญหามาบดาพุด นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงของนักศึกษาชั้นปีต่าง ๆ ชึ่งการแสดงนั้นเน้นไปในทางปลุกใจให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของการปกครองแบบประชาธิบไตย ไม่ว่าจะเป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง การแสดงเรื่องการซื้อสิทธิ การแสดงประกอบเพลงขวานไทยใจหนึ่งเดียว และการท่องบทกลอนวัน 14 ตุลา 2516
สำหรับในช่วงบ่ายมีการเสวนาสิทธิประชาชนในรัฐธรรมนูญ มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมเสวนาระหว่างนักศึกษาและผู้ทำการอภิปลาย ทำให้การเสวนาไม่น่าเบื่อ และดำเนินไปอย่างราบรื่น
การจัดงานวันรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการจัดกรรมที่ดี ให้ทั้งสาระความรู้และความบันเทิงได้อย่างครบถ้วน
นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ เลขที่ 29 ส.50

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ประเด็น"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ"


สิทธิตามรัฐธรรมนูญของผุ้สูงอายุในการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เขียนโดย นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ห้องสังคมศึกษา 50 เลขที่ 29
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาท เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เมษายน 2552 เรื่อยมา และโครงการนี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งเป็นนโยบายที่เน้นให้เงินไหลลงสู่เงินประชาชนมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในการซื้อ ส่งผลให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดำเนินการภายใต้หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเกี่ยวข้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในมาตราต่อไปนี้คือ
ส่วนที่ 5 สิทธิในการรับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่รัฐ
ส่วนที่ 4 นโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมดังต่อไปนี้
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กแบะเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การสึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชายและเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผุ้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพพลภาพและผุ้อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
เห็นได้ว่า นโยบายดังกล่าวมุ่งเสริมสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวนั้น ข้าพเจ้ามองว่า ไม่สามารถที่จะสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนถาวร แก่ผู้สูงอายุได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
จุดแข็งของโครงการ
1. เป้นการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการส่งจ่ายเงินให้อยู่ในมือประชาชน ให้มีการจับจ่ายใช้สอยกันทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่มีงานทำไม่มีรายได้
จุดอ่อนของโครงการ
1. เงินงบประมาณไม่ได้ลงสู่ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ
โดยหลักการของโครงการแล้ว มุ่งให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีลำบากยากจน แต่ด้วยที่รัฐบาลไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผุ้สุงอายุที่จะได้รับช่วยเหลือไว้ ทำให้ผุ้สูงอายุทุกคนมีสิทธิได้รับเบี้ยดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีฐานะดีไม่ลำบากขัดสนด้วย ทำให้การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการสมควรให้การช่วย
2. ปัญหาในกระบวนการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ยังมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในกระบวนการจัดการ เช่น จำนวนเงินและระยะเวลาในการโอนเงินไม่แน่นอน การถูกหักเงินเบี้ยยังชีพให้เป็นค่าพาหนะหรือค่าตอบแทนแก่ผู้นำหรือกรรมการที่ไปรับเงินมาให้ การขาดความรู้ความเข้าใจในการเปิดบัญชี ธนาคารในชื่อตนเอง จนส่งผลให้ไม่มีโอกาสตรวจสอบยอดเงินของตนเอง และไม่สามารถคุ้มครองสิทธิตนเองได้ การขาดการติดตามผล ขาดการตรวจสอบถึงความเป็นธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน และการขาดระบบสนับสนุนด้านระบบข้อมูลข่าวสาร
3 ความสามารถในการกระจายบริการและการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ เน้น การขยายปริมาณผู้รับเบี้ยยังชีพ มากกว่าคำนึงถึง ผลในเชิงคุณภาพ นอกจากนี้จำนวนปริมาณที่ขยายยังเข้าไม่ถึงผู้สูงอายุยากจนที่ยากลำบากอย่างแท้จริง
4 ความพึงพอใจ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยทุกคนมีความพอใจ แม้เงินที่ได้รับจะน้อยมากจนไม่เพียงพอต่อการยังชีพที่แท้จริงได้ สำหรับผู้สูงอายุยากจนแท้จริงที่ได้รับเบี้ย รู้สึกว่าตนมีหลักประกันมากขึ้น มีเครดิตทางสังคม มีศักดิ์ศรีในตนเองมากขึ้น เงินจำนวนดังกล่าวยังสามารถตอบสนองในเรื่องค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมของตน เช่น การเล่นการพนัน การทำบุญตักบาตร ทำกิจกรรมทางศาสนา
5.การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ขาดกระบวนการแสวงหาและระดมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกือบทุกระดับ รวมถึงขาดการเสริมสร้างจิตสำนึกสวัสดิการในหมู่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้จิตใจเพื่อการมีส่วนร่วมในชุมชนไม่มีพลัง
6. การพึ่งตนเองและความยั่งยืนของโครงการ รูปแบบบริการ ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะเป็นการให้เชิงสงเคราะห์ โดยไม่มีกระบวนการเสริมพลัง หรือรูปแบบประสานความร่วมมืออื่น ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองที่ควรจะเป็น ลักษณะบริการ มุ่งเน้นการสงเคราะห์เฉพาะราย เสริมลักษณะปัจเจกมากกว่าการเสริมความเป็นกลุ่มหรือชุมชน
ปัญหาและอุปสรรค์
ผู้สูงอายุที่ลำบากมากจริง ๆ อาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในส่วนนี้ เช่นผู้สูงอายุชราภาพมากร่างกายอ่อนแอ หรือผู้สูงอายุที่อยู่ห่างไกล มีความลำบากด้านการคมนาคม ผุ้สูงอายุเหล่านี้อาจไม่ได้รับทราบข่าวสารจากทางการหรือมีความลำบากในการมารับเบี้ยยังชีพ ฯ ปัญหาในส่วนนี้ทำให้ภาครัฐไม่สามารถให้การช่วยเหลือราษฏรได้อย่างทั่วถึง
แนวทางการแก้ไข
จัดสรรบุคลากรสำหรับการดำเนินการส่วนนี้เป้นการพิเศษ เช่น ให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่นำเงินช่วยเหลือไปมอบให้ผู้สูงอายุที่ลำบากมากตามสมควรแก่กรณีจนถึงที่พักอาศัยโดยไม่ต้องให้มารับที่หน่วยงานหรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร
ข้อเสนอแนะ
นโยบายดังกล่าวเป้นนโยบายที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุดีแล้ว แต่การให้การช่วยเหลือนั้นควรให้การช่วยเหลือเชิงสงเคราะห์ให้น้อยลง หันมาให้การช่วยเหลือเชิงตอบแทน คือ รัฐควรสร้างนโยบายจัดหางานทำให้แก่กผู้สูงอายุ แล้วมีค่าตอบแทนให้ ทั้งนี้จะเป็นการสร้างคุณค่าในตัวเองแก่ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง รวมถึงเป้นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และตรงกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
เขียนโดย นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ห้องสังคมศึกษา 50 เลขที่ 29