วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส.ส.ปชป.แจ้งจับ"จตุพร-วีระ"ข้อหาจารกรรม โทษหนักคุก10 ปี-"บัวแก้ว"เล่นงาน"ตู่"แค่หมิ่นประมาท

กระทรวงต่างประเทศแจ้งกองปราบเอาผิด"จตุพร" แค่ข้อหาหมิ่นประมาทกรณีนำเอกสารความลับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาเผยแพร่ ส.ส.ปชป.เอาบ้างเล่นโทษหนักข้อหาจารกรรมพ่วง"วีระ มุสิกพงศ์" กระทบความปลอดภัยประเทศ โทษหนักจำคุก10 ปี
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคมว่า กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งความดำเนินต่อนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ข้อหาหมิ่นประมาทกรณีนำเอกสารความลับมากความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามาเผแพร่ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับทางสำนักอัยการสูงสุดอย่างต่อเนื่องมาตลอดด้านพ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาท รักษาการแทนผู้บังคับการกองปราบปราม ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งความหมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา ต่อนายจตุพร ขณะนี้ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางให้อยู่ในดุลพินิจในการจัดการผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้แทนฝ่ายกฎหมายรับมอบอำนาจจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน บก.ป.เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายจตุพร และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในข้อหาหมิ่นประมาทว่า ทางผู้แทนฝ่ายกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้นำเทปบันทึกภาพของสถานีโทรทัศน์ดีทีวี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปิดเผยเอกสารลับของกระทรวงการต่างประเทศ มามอบให้กับพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
ภายหลังพนักงานสอบสวนรับเรื่องและสอบปากคำแล้ว ได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นเพื่อขออนุมัติสืบสวนสอบสวนคดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเรื่องเสนอไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ส่วนการดำเนินการต่างๆ หากได้รับการอนุมัติสืบสวนสอบสวนนั้น ทางพนักงานสอบสวนก็จะพิจารณาเรียกพยานที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมดไม่ว่า จะเป็นผู้ดำเนินรายการทีวีสถานีดังกล่าว เอกสารต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ และข้อมูลจากเว็บไซด์ต่างๆ รวมไปถึงประชาชนที่รับข่าวสารว่ามีความเห็นเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นว่าเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทบุคคลหรือหน่วยงานใดหรือไม่

ข่าวแจ้งว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากกระทรวงเห็นว่า นายจตุพรนำข้อความในเอกสารลับมาแถลงบิดเบือน โดยอ้างว่า กระทรวงการต่างประเทศต้องการฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้กระทรวงการต่างประเทศ ในฐาะนิติบุคคลเสียหาย จึงแจ้งค่วามหมิ่นประมาท

นอกจากนี้ เมื่อเวลา 13.00 วันที่ 24 ธันวาคม นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 11 พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.ภูเบศ เส้นขาว รอง ผกก.สส. สน.นางเลิ้ง เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช. ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 123 และ 124 จากกรณีนำเอกสารลับของทางราชการมาเผยแพร่

นายวัชระ กล่าวว่า สืบเนื่องจากนายจตุพร ได้นำเอกสารลับของทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศ มาเผยแพร่ลงในบทความของหนังสือพิมพ์ ความจริงวันนี้ ฉบับวันที่ 22 -24 ธ.ค. ในหน้าที่ 9 คอลัมน์ สถานีแดง ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารลับที่สำคัญต่อประเทศจะนำมาเผยแพร่ไม่ได้ แต่นายจตุพรกลับนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติ จึงเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสาร หรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับ สำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และ มาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้ หรือได้ไปซึ่งข้อความเอกสารหรือสิ่งใดๆอันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี พร้อมแจ้งความดำเนินคดีกับนายวีระ เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจในฐานะกรรมการบริษัทเพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด ผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้

นายวัชระกล่าวว่า นอกจากนี้จะเตรียมยื่นเรื่องต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ให้ดำเนินการตรวจสอบทุนจดทะเบียนบริษัทดังกล่าว มูลค่า 90 ล้านบาท ว่า มีที่มาที่ไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในวันนี้ ได้นำหลักฐานซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้ ที่ลงเผยแพร่หนังสือลับของทางราชการดังกล่าว พร้อมเอกสารจนทะเบียนของบริษัทเพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีตามกฎหมาย

"สิ่งที่นายจตุพร ทำนั้นไม่เพียงแต่พูด แต่ยังได้แถลงข่าว และนำเอกสารลับมาตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง เข้าข่ายมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญาอย่างชัดเจน"

พ.ต.ท.ภูเบศ กล่าวว่า เบื้องต้นได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน โดยจะทำการสอบปากคำนายวัชระ อย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมตรวจสอบพยานหลักฐาน ก่อนจะส่งเรื่องให้ทางผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา ก่อนดำเนินการต่อไป


วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 15:14:03 น. มติชนออนไลน์

วิเคราะห์ข่าว

กระทรวงต่างประเทศแจ้งกองปราบเอาผิด"จตุพร" ข้อหาหมิ่นประมาทกรณีนำเอกสารความลับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาเผยแพร่ ส.ส.ปชป.เอาบ้างเล่นโทษหนักข้อหาจารกรรมพ่วง"วีระ มุสิกพงศ์" กระทบความปลอดภัยประเทศ โทษหนักจำคุก10 ปี
จากกรณีข่าวการกระทำเช่นนี้ ถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 123 และ 124 เช่น
มาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัย ของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีมาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไป ซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับ ความปลอดภัยของประเทศต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบหรือการ สงครามผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
จากการนำเอกสารลับของทางราชการ มีการเผยแพร่ ทางโทรทัศน์โดยอ้างว่า กระทรวงการต่างประเทศต้องการฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะนิติบุคคลเสียหาย ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อประเทศ และ ต่างประเทศ และเป็นการเปิดช่องทางให้ต่างประเทศได้รับข่าวสารที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนจากความเป็นจริง ทำให้มองภาพลักษณ์ของไทยในทางที่ผิดๆ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อประเทศไทยอย่างร้ายแรง เพราะกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าประสานงานและให้ข้อมูลต่างๆระหว่างประเทศ แต่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช ซึ่งส่งผลในด้านลบต่อประเทศไทยอย่างมหันต์ โดยไม่นึกถึงผลประโยชน์ของประเทศ
ในกรณีนี้ น่าจะได้รับความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามคำแจ้งความของกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับโทษตามความผิดอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างมาก

นายทวีรักษ์ กองข้าวเรียบ เลขที่ 13 ห้องสังคมศึกษา 50

ศาลพิพากษาประหารชีวิตนายทหารพันเอก-จำคุกตลอดชีวิตพันโท ร่วมกันผลิตยาบ้าใช้รถทางราชการขนยาเสพติด

ศาลพิพากษาประหารชีวิต พ.อ.พิสิษฐ์ หรือกฤตนัย หรือภัทระ หรือธีรวุฒิ อมรวิสัยสรเดช หรือเสธ.เอ้ และ พ.ท.สุรยุต สังข์เทพ หรือเสธ.หยวก นายทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำเลยที่ 1 – 2 ในความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่ห้องพิจารณาคดี 806 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลพิพากษาประหารชีวิต พ.อ.พิสิษฐ์ หรือกฤตนัย หรือภัทระ หรือธีรวุฒิ อมรวิสัยสรเดช หรือเสธ.เอ้ และ พ.ท.สุรยุต สังข์เทพ หรือเสธ.หยวก นายทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำเลยที่ 1 – 2 ในความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรค 2 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 มีประโยชน์บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต

คดีนี้พนักงานอัยการฝายคดียาเสพติด 3 เป็นโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อประมาณปี 2540 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองกับนายประเสริฐ สินบัณฑิต กับพวกรวม 3 คน ที่ศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต และพวกที่ยังหลบหนี ได้สมคบกันมีเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าชนิดผงน้ำหนัก 23,784 กรัม ประมาณ 23.7 กก.เศษ ราคาประมาณ 40 ล้านบาท พร้อมอุปกรณ์การผลิตยาบ้า รวม 116 รายการ กระทั่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2540 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกันจับกุมตัวนายประเสริฐ กับพวกได้ พร้อมกับยาบ้าและของกลางจำนวนมาก ได้ที่บ้านเลขที่ 316 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ส่งพนักงานสอบสวน บช.ปส. ดำเนินคดี ต่อมาจำเลยทั้งสองได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน บช.ปส. และให้การปฏิเสธโดยตลอด
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานที่ทั้ง 2 ฝ่ายนำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า โจทก์มีนายเศรษฐ์นันท์ สิริจิระสุข หรือ เกาไช่หลุน จำเลยคดีค้ายาเสพติดที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เบิกความยืนยันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับตนผลิตยาเสพติด ที่หมู่บ้านกฤษดานคร 19 และ ที่อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทราที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดยาบ้า พร้อมอุปกรณ์จำนวนมาก โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่หาน้ำยาเคมี ส่วนจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของทางราชการมาขนย้ายเสพติด นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังเคยให้ความช่วยเหลือนายเศรษฐนันท์ คดียาบ้า ที่ จ.ชลบุรี โดยให้ บิดาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่เป็นคนเจรจาต่อรองกับนายตำรวจ จนสามารถช่วยเหลือได้ อีกทั้งโจทก์ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.ปส. เบิกความถึงการสอบสวน และความสัมพันธ์ของนายเศรษฐนันท์ กับจำเลยทั้งสอง โดยเชื่อมโยงสอดคล้องกัน และผู้ใต้บังคับบัญชาของ จำเลยที่ 1 เบิกความถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ในการค้ายาเสพติด
เห็นว่าแม้พยานปากนายเศรษฐนันท์ จะให้การซัดทอดแต่ไม่ได้ทำให้ตนต้องพ้นผิด และถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ซึ่งพยานระบุเนื้อหาสาระสำคัญของคดีที่ยากจะปรุงแต่งให้จำเลยทั้งสองต้องรับโทษ จึงรับฟังพยานปากนี้ได้ นอกจากนื้โจทก์ยังมีผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 เบิกความ ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถให้คุณให้โทษได้ แต่พยานก็เลือกที่จะเบิกความไปตามจริง ทั้งพยานโจทก์ยังมีแม่บ้านหมู่บ้านกฤษดานคร 19 เบิกความสนับสนุนว่า ได้เข้าไปทำความสะอาดบ้านเช่าที่จำเลยทั้งสองเช่าไว้ พบ ว่ามีการใช้กระดาษ และผ้าม่านปิดช่องกระจก หน้าต่าง ประตูอย่างมิดชิด และพบคราบยาเสพติดสีส้มสีขาว จำนวนมากหลายแห่ง
เมื่อพิจารณาพยานโจทก์ทั้งหมด รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยทั้งสองกับนายเศรษฐนันท์ แล้ว เชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับนายเศรษฐนันท์ มานาน แม้โจทก์จะไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองครอบครองยาเสพติดดังกล่าวก็ตาม แต่จากพยานแวดล้อมก็เพียงพอได้ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันค้ายาเสพติดตามที่โจทก์ฟ้อง ข้อต่อสู้ของจำเลยไม่มีน้ำหนักที่จะมาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษดังกล่าว

ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว พ.อ.พิสิษฐ์ จำเลยที่ 1 ถึงกับส่ายศรีษะกับทนายความ โดยที่จำเลยทั้ง 2 เตรียมยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป ขณะที่ บิดาของ พ.อ.พิสิษฐ์ ได้นำหลักทรัพย์จำนวน 3 ล้านบาท มาเพื่อเป็นหลักทรัพย์ยื่นของประกันตัว ชั้นอุทธรณ์

วิเคราะห์ข่าว

จากกรณีการที่ศาลพิพากษาการประหารชีวิตนายทหารพันเอก-จำคุกตลอดชีวิตพันโท ร่วมกันผลิตยาบ้าใช้รถทางราชการขนยาเสพติด ซึ่งนายทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำเลยที่ 1 – 2 ได้กระทำความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรค 2 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
การกระทำความผิดของนักโทษทั้ง 2 คนนี้ ร่วมกันผลิตยาเสพติด และมิหนำซ้ำยังใช้รถของทางราชการมาใช้ในการขนส่งยาบ้าโดยใช้อำนาจหน้าที่ของตนมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถึงแม้ว่าจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่จำเลยทั้ง 2 ได้กระทำความผิดซึ่งถือว่าร้ายแรงมาก เพราะทั้ง 2 คน มียศตำรวจที่สูงไม่น่าจะกระทำที่ส่งผลกระทบต่อยาวชน หรือ คนไทยทั้งประเทศ และเป็นการเหยียดหยามอาชีพการเป็นตำรวจ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีหน้าที่ปกป้อง รักษาความสงบของบ้านเมือง อย่างไรก็ตามคดีนี้ ก็ได้มีการสรุปสำนวน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 บวกกับคำให้การของทั้ง 2 คนที่ยอมรับ และสารภาพความผิด ให้การที่มีประโยชน์ต่อทางราชการ ทำให้ง่ายต่อการสืบสวนคดี และ เบาะแสในการสืบสาวเรื่องราวความผิด แต่ก็ไม่สามารถจับกุมพวกที่เหลืออยู่ได้ และ ไม่สารถหักล้างคดีของทั้ง 2 คนได้ ถึงแม้ว่าจะต่อสู้คดีมาเนิ่นนานแต่หลักฐานที่ใช้ในการสู้คดีไม่เพียงพอ
ในกรณีนี้นักโทษทั้ง 2 คนมีโทษจะคุกตลอดชีวิต ฐานกระทำความผิดสมคบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรค 2 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเห็นสมควรแล้ว ที่จะโดนรับโทษที่ร้ายแรงขั้นจำคุกตลอดชีวิต เพราะถือว่าเป็นภัยต่อบ้านเมือง และเป็นมาตรการที่ส่งเสริมและต่อต้านผู้กระทำความผิดเช่นนี้ให้เห็นอย่างชัดเจน


ชื่อนูสีลา เจ๊ะโด เลขที่ 15 ห้อง ส.50

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14:58:31 น. มติชนออนไลน์

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การชุมนุมโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ

สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้ ทุกคนคงทราบกันดีว่า หาความสงบยังไม่ได้ ความแตกแยกในหมู่คนไทยรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์ การชุมนุมประท้วงในเรื่องต่างของประชาชนยังมีอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นชัดเจนคือ กรณีของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มคือกลุ่มฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พธม. ฝ่ายเสื้อเหลือง สีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9 และ กลุ่มของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( หรือ นปช. หรือฝ่ายเสื้อเเดง บ้างก็ว่าคือสีวันเกิดของพตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ บ้างก็ว่า คือสีแดงที่หมายถึงชาติ ) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มประท้วงต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การชุมนุมประท้วงของพนักงานการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การชุมนุมต่อต้านการจัดงานบุหรี่โลก การชุมนุมแก้ไขปัญหาผลผลิตตกต่ำของเกษตรกร และอีกมากมาย การชุมนุมเหล่าแต่ละครั้ง ผู้ชุมนุมมักอ้างสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นั้นคือมาตรา 63 ที่ให้อำนาจในการชุมนุม ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธโดยไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จเอามากล่าวหา ไม่ปลุกระดมประชาชนให้หลงผิด ไม่ใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ ไม่บังคับและไม่จ้างวานกลุ่มบุคคลใดๆ ให้มาร่วมชุมนุม" จะเห็นได้ว่า กฎหมายมาตรานี้ให้สิทธิเสรีภาพอย่างมากมายในการชุมนุม การห้ามชุมนุมโดยไม่มีอาวุธ ห้ามสร้างข้อมูลเท็จเพื่อปลุกระดม ห้ามจ้างวานคนมาชุมนุม ตามที่ระบุในมาตรานี้นั้นล้วนเป็นเรื่องที่ยากจะตรวจสอบ ดังนั้นการชุมนุมของแต่ละกลุ่มจึงเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย
และการชุมนุมที่เกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายมารองรับให้กระทำได้ แต่การชุมนุมที่มีคนหมู่มากแต่ละครั้ง ย่อมก่อให้เกิดปัญหากับสังคมโดยรวมส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาพลักษณ์ที่ไม่มี เรื่องของเสียงดังอื้ออึง และที่สำคัญคือการคมนาคมและการจราจร ปัญหาเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นตามมาในการชุมนุมแต่ละครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จึงเกิดคำถามว่า สิทธิการชุมนุมของบุคคลตามมาตรา 63 นั้น เป็นสิทธิที่กระทำได้โดยง่ายเกิดไปหรือปล่าว แนวคิดในการออกกฎหมายควบคุมหรือจำกัดสิทธิในการชุมนุมจึงเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าจึงขอนำเสนอข่าวที่เสนอประเด็นในการออกกฎหมายจำกัดสิทธิการชุมนุม ดังนี้

ชงด่วน กฎหมายไล่ม๊อบ พ้นถนน จำกัดสิทธิชุมนุม
หลังจากที่พรรคพลังประชาชนและมวลชนที่ชื่นชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จัดชุมนุมปิดกั้นทางสาธารณะ และเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลมานาน ในที่สุด นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจเดินเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 63 เพื่อควบคุมการชุมนุมของม็อบโดยตรง
ทั้งนี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติครั้งแรก ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ จะมีร่าง พ.ร.บ.ที่น่าสนใจเข้าสู่การพิจารณา คือ ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ที่ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชน และคณะ โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลักการเพื่อให้การชุมนุมในที่สาธารณะเป็นไปตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนเสียหายต่อสาธารณชนทั่วไป จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อจัดระเบียบการชุมนุมดังกล่าว

โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีจำนวน 20 มาตรา มีสาระสำคัญ คือ

มาตรา 2 กำหนดนิยามของ "ผู้จะจัดการชุมนุม"

มาตรา 4 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่การชุมนุมในที่สาธารณะจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

มาตรา 5 ห้ามมิให้ดำเนินการชุมนุมในที่สาธารณะ ที่มีลักษณะเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ได้แก่ มีการใช้ช่องทางการเดินรถหรือพื้นผิวการจราจร มีการตั้งเวทีปราศรัยในลักษณะกีดขวางการจราจรหรือทางสัญจรของประชาชน มีการใช้เครื่องขยายเสียง เครื่องฉายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเครื่องมือใดๆ เพื่อถ่ายทอดการชุมนุม มีการใช้ยานพาหนะ มีการเคลื่อนย้ายสถานที่ชุมนุม

มาตรา 7 การยื่นขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

นอกจากนี้ยังระบุถึงการอนุญาตให้มีการชุมนุมได้ โดยกำหนดลงใน มาตรา 8 ว่า คณะกรรมการผู้พิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะทุกจังหวัด โดย (1) ในส่วน กทม. ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นประธานกรรมการ ส่วน (2) ในต่างจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

มาตรา 9 คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาคำขอตามมาตรา 5 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 10 การขออนุญาต จะมีผลเฉพาะในเขตจังหวัดนั้น หากมีการเคลื่อนย้ายการชุมนุมไปในเขตจังหวัดอื่น จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการตามมาตรา 8 (2)

ขณะที่ มาตรา 11 ผลการพิจารณาของ คณะกรรมการตามมาตรา 8 ให้ถือเป็นที่สุด

ส่วนใน มาตรา 12-16 เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนที่ห้ามให้มีการชุมนุม ซึ่งให้อำนาจจัดการผู้ที่ฝ่าฝืน คือประธานกรรมการตามมาตรา 8 สั่งยุติการชุมนุมได้ แต่หากยังมีการฝ่าฝืนคำสั่งให้ประธานกรรมการสั่งเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมได้ ซึ่งในมาตรา 16 ระบุว่า โดยเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้อำนาจการสลายการชุมนุมไม่ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา หากการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เกินกว่าเหตุ หรือไม่เกินความจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหาย ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ในส่วนของบทลงโทษนั้น ระบุใน มาตรา 17 ว่า การชุมนุมในที่สาธารณะที่ไม่ได้ขออนุญาตภายใต้ข้อบังคับมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และวรรคสอง ผู้ใดจัดให้มีการชุมนุมตามวรรคหนึ่ง แล้วเกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ วรรคสาม ผู้ใดจัดให้มีการชุมนุมตามวรรคหนึ่งแล้วเกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ผู้ใดฝ่าฝืนจัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ แม้การชุมนุมจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ วรรคสอง ผู้ใดจัดชุมนุมโดยฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง แล้วเกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย แม้จะได้ปฏิบัติตามมาตรา 13 แล้วก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ วรรคสาม ผู้ใดจัดให้มีการชุมนุมโดยฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง แล้วเกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หากไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 13 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 19 การชุมนุมในที่สาธารณะภายใต้บังคับมาตรา 5 กรณีที่ขออนุญาตหรือไม่ขออนุญาตก็ตาม หากผู้จัดให้มีการชุมนุมไม่ควบคุมดูแล ปล่อยปละจนเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมทำผิดทางแพ่งหรืออาญา ผู้จัดให้มีการชุมนุมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 20 นายกฯ เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้


ด้าน นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร กล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อมาตรา 63 โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการทำลายการชุมนุมแบบสงบและสันติ เพราะต่อไปการชุมนุมจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐก่อน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะคงไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดอนุญาตให้ประชาชนชุมนุมอยู่แล้ว

นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า หากร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเมื่อใด รับรองว่ารัฐสภาไทยจะเป็นที่อับอายไปทั่วโลก เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกห้ามการชุมนุมได้ หากประชาชนไม่เดือดร้อนคงไม่มาชุมนุม ดังนั้นการชุมนุมจึงเป็นดัชนีการชี้วัดการทำงานของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลทำงานดีการชุมนุมก็จะมีน้อย แต่ถ้ารัฐบาลทำงานล้มเหลวการชุมนุมก็จะมีมาก

"รัฐบาลชุดนี้มองว่าการชุมนุมเป็นภัยต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด ดังนั้น ขอย้ำอีกว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้เข้าสภาเมื่อใดจะเป็นที่อับอายไปทั่วโลก ที่ ส.ส. ไทยเสนอกฎหมายล้าหลังแบบนี้ มากไปกว่านั้นผมคิดว่า การเสนอกฎหมายนี้เพื่อสกัดกั้นการชุมนุมของพันธมิตร ที่พรรคพลังประชาชนทำมาทุกวิถีทาง โดยครั้งนี้จะกลไกในสภาใช้เสียงข้างมากลากไป เพื่อหวังการสลายการชุมนุมของพันธมิตร" นายสุริยะใสกล่าว

ขณะที่ นายสมัคร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 63 ว่า "นี่คือรัฐธรรมนูญ มาตราที่พันธมิตรกลัว" พร้อมกล่าวถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธโดยไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จเอามากล่าวหา ไม่ปลุกระดมประชาชนให้หลงผิด ไม่ใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ ไม่บังคับและไม่จ้างวานกลุ่มบุคคลใดๆ ให้มาร่วมชุมนุม"

อย่างไรก็ตามสำหรับรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 63 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยตามอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก"

วิเคราะห์ข่าว
จากข่าวที่ได้นำเสนอในเบื้องต้น ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เนื้อหาของ" ร่างพรบ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ " ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่จะจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมแสดงออกทางความคิดเห็นหรือเรียกร้องในเรื่องต่าง ๆ ให้กระทำได้ยากขึ้น เช่น มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการผู้พิจารณาคำขออนุญาติจัดการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งการจะจัดการชุมนุมในที่สาธารณะในแต่ละครั้งต้องขออนุญาติจากคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งทำให้กฎหมายฉบับนี้มีข้อดีแลข้อเสียเกิดขึ้น ข้อดีของกฎหมายฉบับนี้คือ เป็นการจำกัดสิทธิการชุมนุมฯ ให้แคบลงส่งผลให้การชุมนุมประท้วงกระทำได้ยากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดในการส่งเสริมการธำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อด้อยของกฎหมายฉบับนี้ ไม่มีข้อกำหนดสำหรับการอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้จัดการชุมนุมประท้วงของคณะกรรมการผู้พิจารณาคำขออนุญาติจัดการชุมนุมในที่สาธารณะที่ชัดเจน ฉะนั้นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพรบ.ให้มีความสมบูรณ์คือ ควรออกข้อกำหนดในการใช้พิจารณาอนุญาติ หรือไม่อนุญาติให้ดำเนินการจัดการชุมนุมของคณะกรรมการฯ ให้ชัดเจน ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการออกกฏหมายพรบ.ฉบับนี้คือ ในระบอบประชาธิปไตยนั้นสิทธิทางการชุมนุมในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยในประเทศประชาธิปไตยจะให้สิทธิเสรีในการชุมนุมดังกล่าวอย่างเต็มที่ แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิการชุมนุม ดังนั้น จึงอาจไม่เป็นที่ยอมรับของชาติประชาธิปไตยทำให้กฎหมายดังกล่าวไม่สามารถใช้บังคับได้
อย่างไรก็ตามแม้กฎหมายฉบับนี้จะยังไม่ออกมาบังคับใช้แต่ข้าพเจ้าก็มีความเห็นว่าการใช้กฎหมายจำกัดสิทธิการชุมนุม ยังดีกว่าการประกาศใช้พรบ.หรือพรก.ควบคุมการชุมนุมเพราะทันทีที่ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวสายตาของชาวต่างชาติมักมองว่าเกิดเหตุการร้าย ๆ ขึ้นเนื่องจากกฎหมายหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษเด็ดขาด และจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นเท่านั้น ส่วนการออกเป็นกฎหมาย ก็คือการมีกฎหมายตั้งไว้ ให้ทุกคนปฏิบัติตามถ้าไม่ปฏิบัติก็มีโทษตามที่กำหนด สามารถใช้บังคับได้ตลอดไม่จำเป็นต้องเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นก่อน กฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในการชุมนุม จึงจำเป็นต่อสังคมไทย
ข้อดีของการใช้กฎหมายพรบ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ
มีกฎหมายที่จำกัดสิทธิการชุมนุมให้อยุ่ในความเรียบร้อย ซึ่งสามารถใช้ได้โดยที่ไม่ต้องประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับประเทศและรัฐบาล
ข้อเสียของการใช้พรบ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ
กฎหมายมีลักษณะจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของประชาชนซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะขัดแย้งกับหลักการในระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดอย่างเต็มที่
โอกาส
กฎหมายควรร่างเเละเขียนให้สามารถปรับใช้ได้กับเหตุการณ์ในทุกสถานการณ์
ปัญหาและอุปสรรคในการประกาศใช้ร่างพรบ.ฉบับนี้
มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับความเป้นประชาธิปไตย เป็นต้นว่า ให้อำนาจการตัดสินใจคณะกรรมการผุ้อนุญาติให้มีการจัดการชุมนุม" โดยไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจนใช้เป็นเครื่องชี้ว่าการชุมนุมใดควรอนุญาติ และการชุมนุมใดไม่ควรอนุญาติ ด้วยเหตุผลประการนี้จึงได้รับการต่อต้านในการประกาศใช้

เขียนโดย

นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ห้องสังคมศึกษา 50 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา เลขที่ 29